วันอังคารที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2560

ที่มาของเชียร์ลีดเดอร์

เชียร์ลีดเดอร์ไทยสันนิษฐานว่าแรกเริ่มมาจากการ นำร้องเพลงเชียร์และแปรอักษรหน้ากองเชียร์ ต่อมาได้ประยุกต์ท่าทางการคุม จังหวะเพลงของคอนดักเตอร์ผู้คุมวงดนตรีเข้ามาใช้ โดยในสมัยก่อน ผู้ทำการนำเชียร์ก็มักเป็นผู้ทำหน้าที่ต่าง ๆ หน้าแสตนด์เชียร์ไปด้วย จนภายหลังได้จัด ให้มีทีมเชียร์ลีดเดอร์แยกเฉพาะต่างหากเพื่อใช้ควบคุม จังหวะการร้องเพลง เชียร์โดยเฉพาะ ส่วนประวัติโดยละเอียดนั้นไม่มีการบันทึกไว้แน่นอน ได้แต่ สันนิษฐานว่าการเชียร์และแปรอักษรนั้นเริ่มจากการเชียร์ระหว่าง สี่โรงเรียน ในการแข่งขันฟุตบอลประเพณีจตุรมิตร ส่วนเชียร์ลีดเดอร์นั้น น่าจะเริ่มจาก การแข่งขันฟุตบอลประเพณีจุฬา-ธรรมศาสตร์         ปัจจุบันได้มีการนำท่าทางการเชียร์แบบสากลเข้ามาใช้ในบ้านเรามากขึ้น แต่ก็เป็นเพียงการ ประยุกต์ใช้เนื่องจากระบบการเชียร์ เพลงเชียร์ ของบ้านเราไม่เหมือนกับที่ต่างประเทศ ในอนาคตคงจะเป็นลักษณะ ผสมผสานกันกันมากกว่าที่จะเปลี่ยน ไปเป็นรูปแบบอย่างในต่างประเทศ
เชียร์แบบสากลเกิดขึ้นในประเทศไทยเมื่อประมาณ 18 ปีที่ผ่านมา (2536) ในครั้งแรกมีการจัดการแข่งขันเชียร์ลีดเดอร์ในระดับมัธยมศึกษา โดยมีผู้สนับสนุนคือไมโล ซึ่งจะเป็นการแข่งขันกีฬา มีกองเชียร์ เชียร์ลีดเดอร์แต่ละโรงเรียนมาประชันกัน มีทั้งการแข่งเชียร์ลีดเดอร์ไทย เชียร์ลีดเดอร์สากล (ซึ่งสมัยนั้นก็จะดูเหมือนเต้นประกอบเพลง) มีการนำกีฬายืดหยุ่นเข้ามาผสมผสานดูน่าตื่นตาเป็นอย่างมาก ต่อมาก็ได้มีการจัดการแข่งขันที่ซีคอนสแควร์ซึ่งได้พยายามพัฒนารูปแบบการแข่งขันให้เข้าไปสู่สากลมากที่สุด หลังจากนั้นก็มีการแข่งขันเชียร์ลีดเดอร์ Red Bull Extra Boom ซึ่งทางบริษัทมีความสนใจในกลุ่มกีฬา เอกซ์ เกม อยู่แล้ว และตามมาด้วยการแข่งขันเชียร์ลีดเดอร์ในโครงการ To Be Number 1 เป็นหนึ่งในโครงการที่สร้างให้เยาวชนใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์และไกลห่างยาเสพติด
จะเห็นได้ว่าเยาวชน หันมาให้ความสนใจในกีฬาประเภทนี้เป็นอย่างมาก ซึ่งในอนาคตกีฬาประเภทนี้จะได้รับความสนใจยิ่งขึ้น ดังนั้นจึงต้องมีการควบคุมให้เยาวชนที่กำลังจะเล่นกีฬาเชียร์ลีดดิ้งนั้นเล่นอย่างไรให้ปลอดภั

วันอังคารที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2560

เชียร์ลีดเดอร์








เชียร์ลีดเดอร์

เชียร์ลีดเดอร์ หรือ ผู้นำเชียร์ คือผู้ที่ทำหน้าที่ในการนำฝูงชนให้มีความฮึกเหิม โห่ร้อง ตะโกน ร้องเพลง ให้

กำลังใจ เชียร์นักกีฬาที่กำลังทำการแข่งขัน เพื่อให้นักกีฬามีกำลังใจสู้ในการแข่งขัน ในประเทศไทยเน้นการ
ให้จังหวะ รหัส สัญญาณ ให้กองเชียร์ร้องเพลง พร้อมเพรียง เสียงดัง และ เกิดความสนุกนานในการชมการ

แข่งขัน ส่วนเชียร์ลีดเดอร์ในบางประเทศถือเป็นนักกีฬาเช่นกัน เรียกว่ากีฬา เชียร์ลีดดิง (cheerleading)ซึ่ง

ประกอบไปด้วยหลายแขนง ประกอบไปด้วย การต่อตัว การเชียร์ประกอบท่าท่างหรือที่เรียกว่าเชียร์

 ยิมนาสติก การทำงานร่วมกันเป็นทีม การเต้น เป็นกีฬาที่ให้ทั้งความสนุกสนาน ความตื่นเต้น เนื่องจาก

ทั้งหมดนี้มีการใช้ดนตรีเข้ามาประกอบจังหวะ ซึ่งประวัติศาสตร์ของกีฬาประเภทนี้มีมายาวนานแล้ว และ

ปัจจุบันทุกประเทศเริ่มให้ความสนใจกีฬาประเภทนี้กันมากขึ้น

ที่มาของเชียร์ลีดเดอร์

เชียร์ลีดเดอร์ไทยสันนิษฐานว่าแรกเริ่มมาจากการ นำร้องเพลงเชียร์และแปรอักษรหน้ากองเชียร์ ต่อมาได้ประยุกต์ท่าทางการคุม จังหวะเพลงของคอนดักเต...